ออกแบบแสงสว่างโรงงาน

ออกแบบแสงสว่างโรงงาน

ความต้องการแสงสว่างภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะต่างจากความต้องการแสงสว่างในสำนักงานออฟฟิตทั่วไป กล่าวคือเพดานหรือหลังคาของโรงงานอาจมีความสูงมากกว่าออฟฟิตทั่วไป ดังนั้นเมื่อมีความสูงมากในการติดตั้งโคมไฟเราสามารถติดตั้งห่างกันได้มาก ระหว่างโคมต่อโคม แต่ก็ไม่ควรที่จะติดตั้งห่างกันมากยังคงต้องคำนึงถึงความส่องสว่างที่สม่ำเสมออยู่ และเมื่อสามารถติดตั้งห่างกันได้ก็ต้องหาโคมที่มีหลอดวัตต์ (W) สูงเพื่อจะได้ใช้โคมจำนวนไม่มาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราสามารถออกแบบโดยใช้โคมไฟวัตต์ (W) น้อยแต่จำนวนมากหรือใช้วัตต์ (W) สูงแต่จำนวนโคมน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยงบประมาณ

การออกแบบแสงสว่างในโรงงานที่มีเพดานไม่สูงมากนัก (3 – 5 เมตร) ก็อาจใช้โคมไฟ โคมตะแกรง LED T8 แทนได้ แต่เมื่อถึงเวลา 1–2 ปี จะต้องเปลี่ยนโคมไฟใหม่ จะต้องเสียเวลา ยุ่งยาก และใช้เวลาในการเปลี่ยนนานกว่า เพราะมีจำนวนมาก เพราะหลอด LED T8 จะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า โคม High bay ถ้าเพดานโรงงานมีความสูง  5 เมตรขึ้นไปเราจะไม่สามารถติดตั้ง โคมไฟLED T8 ได้เนื่องจากแสงส่องสว่างลงมาไม่ถึงพื้น ถึงแม้ว่าเราจะติดตั้งโคมไฟ ติดถี่ๆ กันแค่ไหน แสงก็จะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือท่านอาจจะคิดว่าจะห้อยโซ่ลงมาก็อาจจะเจอปัญหาตามข้างต้น และอาจจะกีดขวางเส้นทางการเดินรถของรถโฟคลิฟท์ด้วย เพราะฉนั้นโคมไฟที่เหมาะกับการออกแบบแสงสว่างโรงงานก็คือ โคม High bay

การออกแบบแสงสว่างในโรงงาน ขั้นตอน มีดังนี้

1.เลือกประเภทโคมไฮเบย์ที่เหมาะกับการใช้งานรวมไปถึงมุมกระจายแสง โคมไฟ High bay นั้นมีหลากหลายให้เลือก ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยหลักๆ นั้นมีโคมไฟ High bay อยู่ 2 ประเภท ดังนี้ 1) High bay หลอดดีสชาร์จ จำพวกปรอทความดันสูง หลอดโซเดียม เป็นโคมไฟที่เริ่มห่างหายไปจากระบบ เนื่องจากกินไฟมากกำลังวัตต์ (W) สูงแต่ให้ความสว่างน้อยกว่าแบบ LED การเปิดใช้งานจะต้องรอเวลา ซํกพักกว่าหลอดจะสว่างเต็มที่ แต่ยังคงมีข้อดีอยู่คือมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม อากาศชื้น อุณหภูมิสูง และทนต่อสารเคมีได้ จึงเหมาะกับการใช้งาน ที่โรงงานกรมปศุสัตว์ หรือโรงงานการเกษตร 2) LED High bay เป็นโคม High bay ที่นิยมใช้งานแพร่หลายในปัจุบัน ซึ่งคุณสมบัติของโคม LED High bay นั้น คือ ประหยัดไฟได้มากกว่า ถ้าเปรียบเทียบกับโคมข้อ 1 กำลังวัตต์ (W) เท่ากันแต่ให้ค่าความสว่างได้มากกว่า ดังนั้นไม่เพียงประหยัดค่าไฟเท่านั้น แต่ยังลดจำนวนโคมที่ต้องการติดตั้งด้วย

  1. การให้แสงสว่างที่เพียงพอต่อการใช้งาน (คำนวณจำนวนโคมไฮเบย์ที่ต้องใช้) เมื่อเลือกประเภทโคมไฮเบย์เป็นที่เรียบร้อย ก็มาถึงขั้นตอนที่เราจำเป็นต้องเลือกต่อไปนั่นคือ การเลือกกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของโคมไฟและจำนวนที่เราต้องใช้ ซึ่ง 2 สิ่งนี้จะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับลูกค้าทั่วไป แต่ทาง บริษัทเรา มีบริการคำนวณแสง ออกแบบแสงสว่างโรงงาน โดยทีมงานวิศวกรไฟฟ้ามืออาชีพ สามารถให้คำแนะนำ และคำนวนแสงได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *